ประเภทวัสดุทำป้ายยอดนิยม ตัวอย่างป้ายโฆษณา
ป้ายร้านกาแฟ ป้ายโฆษณาตามท้องตลาดที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป รวมทั้งงานดีไซน์แปลกตาตามจินตนาการไอเดียใหม่ มักจะมีองค์ประกอบจากการเลือกใช้วัสดุนำมาผสมผสานเป็นงานป้ายอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นที่นิยมมากสามารถเรียบเรียงมาได้ตามเนื้อหาในบทความนี้ เพื่อให้เกิิดความเข้าใจในรูปแบบความต้องการของตนเอง สามารถสื่อสารกับบริษัทหรือร้านรับทำป้ายได้แม่นยำตรงความต้องการมากขึ้น ป้ายโฆษณาที่ดีต้องตอบโจทย์ในเรื่องความโดดเด่นสะดุดตา สวยงาม คุ้มค่าสมราคา สมฐานะของแบรนด์ และเลือกใช้บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เพียงแต่มีประสบการณ์ทำป้ายมานานเท่านั้น ความเข้าใจตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน บทความนี้ต้องการให้ความรู้เรื่องป้ายและวัสดุต่าง ๆ ดังต่อต่อไปนี้
ป้ายซิงค์(Zinc) คือ ป้ายสังกะสี หรือแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีไฟฟ้า จะมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานต่อการสึกกร่อนมากกว่าเหล็กแผ่นรีดเย็น นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุหลักในการทำป้ายตัวอักษรหรือเป็นกล่องไฟฉลุลายตามแบบ เพราะซิงค์มีราคาถูกและคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กหรืออลูมิเนียม สามารถในการขึ้นรูปและเลือกสีสันได้ตามต้องการ งานส่วนใหญ่นิยมทำสีทับลงบนแผ่นซิงค์เพื่อป้องกันสนิมและเพื่อความสวยงาม ป้ายซิงค์เหมาะกับงานป้ายแทบทุกประเภท เนื่องจากขึ้นรูปได้ง่าย ทนต่อสภาพอากาศ อาทิ ป้ายบริษัท ป้ายหน้าร้าน ป้ายโรงงาน ป้ายชื่อร้าน ป้ายร้านกาแฟ ป้ายร้านขายอาหาร ป้ายบริษัท ป้ายสำนักงานต่างๆ ซึ่งป้ายซิงค์สามารถสามารถแบ่งย่อยได้หลายประเภท ดังนี้ ป้ายร้านกาแฟ
เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมาทำป้ายโฆษณา ทำง่ายโดยการนำแผ่นซิงค์มาขึ้นรูป ไดคัทตัวอักษร ซึ่งตัวอักษรมีความหนาแตกต่างกันไป ตัดด้วยเครื่อง CNC PLASMA ตามรูปตัวอักษร แล้วนำมาบัดกรีประกอบเป็นตัวๆ หรือจะนำไปฉลุลายแล้วทำสีก็ได้เช่นกัน การทำสีจะช่วยป้องกันการเกิดสนิม และปกปิดพื้นผิวของซิงค์ ช่วยให้การใช้งานคงทนมากยิ่งขึ้นและมีความสวยงามมากกว่าแบบเปลือย
ป้ายซิงค์ฉลุลาย เป็นการนำแผ่นซิงค์มาฉลุเป็นลายตามแบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้แผ่นคอมโพสิทรองด้านหลังเพื่อความสวยงาม หรือหากพื้นผิวที่นำไปติดตั้งมีลวดลายสวยงามอยู่แล้ว เช่นลายหินอ่อน ก็ไม่จำเป็นต้องรองด้านหลัง
ป้ายซิงค์ยกขอบ การยกขอบจะช่วยทำให้งานป้ายเกิดมิติมากยิ่งขึ้น ป้ายดูมีความคงทน สวยงาม หรูหรามากขึ้นกว่าการทำเป็นตัวอักษร 2 มิติแบน ๆ สามารถเลือกความสูงของขอบได้ตามความเหมาะสมของขนาดป้ายหรือตัวอักษร ถ้าป้ายหรือตัวอักษรมีขนาดเล็กจะนิยมยกขอบไม่เกิน 2-3 เซนติเมตร หากป้ายหรือตัวอักษรมีขนาดใหญ่จะนิยมยกขอบประมาณ 5-10 เซนติเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น