วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เบาหวานกับการผ่าตัด

 

เบาหวานกับการผ่าตัด

การผ่าตัดถือได้ว่าเป็นแรงกดดันที่มีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้มีอาการเปลี่ยนแปลงต่อระบบสมดุลของร่างกาย มีการหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วย และมีผลต่อเนื่องกับการหายของแผล รวมถึงการติดเชื้อ ดังนั้นก่อนได้รับการผ่าตัดผู้ป่วยควรจะได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติเสียก่อน บางครั้งแพทย์อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไปจนกว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ในกรณีผ่าตัดฉุกเฉิน หากมีความจำเป็นก็สามารถรับการผ่าตัดได้เลย แต่ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือสูงผิดปกติ เป็นต้น

ช่วงระหว่างการผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยจำเป็นต้องงดอาหารกับน้ำ ร่วมกับร่างกายมีจะการตอบสนองต่อการผ่าตัด จึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงได้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีก่อนการผ่าตัดจะลดระดับการผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดได้
  2. ดูแลรักษาอย่างถูกต้องลดความเสี่ยง แม้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องเข้ารับการผ่าตัดจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปอยู่บ้าง หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดจนถึงระยะหลังผ่าตัดแล้ว ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายจะมีไม่มากนัก
  3. ควรรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และนำยาที่ใช้มาด้วย เมื่อเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากแพทย์มักจะงดยาลดน้ำตาลชนิดรับประทานก่อนผ่าตัด 24 ชั่วโมง หรือเมื่องดอาหารกับเครื่องดื่ม ทั้งนี้พิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดและการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วยด้วย   

หลังการผ่าตัดต้องระวังในข้อต่อไปนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ
  • แผลหายไม่ดี หายช้า ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดอ่อนแอ
  • การติดเชื้อ ทั้งการติดเชื้อบริเวณแผล ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รวมถึงติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ภาวะคีโตซีส Diabetic ketoacidosis (DKA)
  • ระดับเกลือแร่ (โซเดียม โพแทสเซียม) ที่เพิ่มหรือลดลงอย่างมาก อาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจและระดับสารน้ำในร่างกาย

          ในกรณีผ่าตัดทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี สามารถจะเข้ารับการผ่าตัดได้เหมือนคนปกติทั่วไป และหลังผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยเข้าระยะพักฟื้น แผลหายเป็นปกติแล้ว ในกรณีที่เคยใช้ยาเม็ดเบาหวาน ก็สามารถรับยาเม็ดต่อไปได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินตลอดไป

https://www.glucerna.co.th/diabetes/knowledge/Diabetic-in-eyes-Check-the-symptoms-and-how-to-handle-correctly

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บ้านพักคนงานน็อคดาวน์ บ้านพักคนงานสำเร็จรูป

  บ้านพักคนงานกั้น 2 ห้อง  สามารถทดแทนการใช้แคมป์คนงานแบบเดิมๆช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้าง  สินค้าขายดี ขายไปมากกว่า 1,000 ใบ  ช่วยลดการสูญเสีย...