อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯร่วมมือนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษา วิจัยอนาคต “หัวลำโพง”พลิกโฉมสู่พื้นที่สร้างสรรค์ อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชื่อมโยงย่านเมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ หลังย้ายศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อภายในปีนี้
“หัวลำโพง” หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนานกว่า105 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นับจากนี้ หัวลำโพงต้องเปลี่ยนรางสู่บทบาทใหม่ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง international program in thailand
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของหัวลำโพงจะเป็นเช่นไร? การรถไฟแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันอาศรมศิลป์ ดำเนินการวิจัยเพื่อหาทิศทางอนาคตของหัวลำโพงในศตวรรษใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาเพื่อวางกรอบ “ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)” กล่าวว่าแผนการศึกษาโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ เน้นวิจัยคุณค่าเชิงอนุรักษ์และนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการวิจัยเปิดให้หลายภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของหัวลำโพงด้วย
“การวิจัยครั้งนี้ประชาชนเป็นทั้ง “ผู้ร่วมคิด” คือมีส่วนร่วมในการออกแบบในฐานะ“ผู้ใช้ประโยชน์” เพราะทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็น”ผู้รับผิดชอบ” คือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วต้องช่วยกันรักษสมบัติของคนไทยทุกคน จากการวิจัยครั้งนี้ ชัดเจนว่าประชาชนเห็น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” เป็นของคนไทยทุกคน” ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น