โดยเกจวัดแรงดัน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาล็อก
ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันดังนี้
1. เกจวัดแรงดัน แบบดิจิตอล คือ จะมีการแสดงผลที่หน้าจออ่านเป็นแบบตัวเลขดิจิตอลซึ่งทำให้ผู้ใช้งานนั้นอ่านค่าได้ง่ายและแม่นยำกว่าแบบอนาล็อกซึ่งก็จะเหมาะกับงานที่ต้องการ การวัดค่าความดันที่มีความแม่นยำสูง นอกจากนั้นเกจวัดแรงดันแบบดิจิตอลในหลายรุ่นปัจจุบันทางผู้ผลิตได้ออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้สามารถอ่านค่าได้จากระยะใกล้และระยะไกลรวมถึงรูปแบบไร้สายด้วย และเก็บข้อมมูลย้อนหลังในการอ่านค่าแรงดันได้ด้วย และจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงตามฟั่งชั่นการใช้งานต่างๆที่รวบรวมอยู่ในเกจวัดแบบดิจิตอลนั้นเอง
2. เกจวัดแรงดัน แบบอนาล็อก (แบบเข็ม) คือ จะมีการแสดงผลที่หน้าจออ่านในรูปแบบที่เป็นเข็มที่คล้ายเข็มนาฬิกา ซึ่งการอ่านค่าในมุมของความแม่นยำนั้นก็จะมีปัจจัยในการคลาดเคลื่อนที่สูงกว่าแบบดิจิตอล เพราะในแต่ละมุมหรือองศาในการมองดูอ่านค่าก็ส่งผลต่อการคลาดเคลื่อนได้ แต่มีข้อดีก็คือ ราคาถูกกว่าแบบดิจิตอลมาก และอาจจะไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก เมื่อเทียบกับเกจแบบดิจิตอล โดยเกจวัดแรงดันแบบอนาล็อกนั้นแบ่งแยกออกอีกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 เกจวัดแรงดันอนาล็อกแบบมีน้ำมัน คือ จะมีน้ำมันอยู่ที่หน้าปัดเข็มเพื่อที่จะช่วยลดการสั่นสะเทือนของเข็มในการอ่านค่าได้ ซึ่งทำให้อ่านค่าได้ดี แม้มีการสั่นสะเทือนสูงของเครื่องจักรหรือจุดใช้งานที่มีการสั่นสะเทือนได้ และยังเป็นตัวซับแรงทำให้เข็มอ่านค่าไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนและเสียหายนั้นเอง
2.2 เกจวัดแรงดันอนาล็อกแบบไม่มีน้ำมัน คือ ที่หน้าปัดเข็มจะไม่มีน้ำมันอยู่ที่หน้าปัด จึงทำให้มีข้อจำกัดในการใช่งานค่อนข้างสูง ไม่เหมะในจุดที่เครื่องจักรหรือจุดที่มีการสั่นสะเทือนต่างๆอาจจะต้องเลือกจุดในการใช้งานที่ไม่มีการสั่นสะเทือนหรือมีเล็กน้อยเท่านั้นแต่มีข้อดีคือ ราคาถูก หาเลือกซื้อได้ง่าย micrometer
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้เขียนหวังท่านผู้อ่านจะได้ความรู้และได้ทำความรู้จักกับเจ้าตัว เกจวัดความดันมากขึ้น และสามารถเลือกใช้งานได้แบบเหมาะกับงานและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานเอง พร้อมทั้งต้องไม่ลืมส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นประจำ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้องแม่นยำครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น