การผ่าตัดลดขนาดเต้านมเป็นการผ่าตัดที่พบได้ในคนที่มีขนาด เต้านมที่ใหญ่ผิดปกติอาจพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ในผู้หญิง ขนาดของเต้านมที่ใหญ่ผิดปกติ (Breast hypertrophy) อาจเกิดได้ตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น หรือหลังจากนั้น หรือหลังจากให้นมบุตรแล้ว ขนาดเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้นไม่ลดขนาดลงหลังจากหยุดให้นมแล้ว หรือเกิดจากเนื้องอกบางชนิด ส่วนในผู้ชาย ขนาดของเต้านมที่ใหญ่ผิดปกติ (Gynecomastia) มักพบในช่วงวัยรุ่น ซึ่งจำนวนไม่น้อยจะหายได้เอง แต่บางส่วนไม่หาย ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคตับบางชนิด อาจทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือการรับประทานฮอร์โมนในพวกที่เตรียมแปลงเพศ ก็อาจทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ แก้ไขหัวนมบอด
การรักษา
- การดูดไขมัน (Liposuction) โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบ
- การผ่าตัด (Breast surgery) โดยดมยาสลบ
วิธีการผ่าตัด
สำหรับการผ่าตัดลดขนาดเต้านมมีมากมายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความชำนาญของศัลยแพทย์แต่ละท่าน แต่ทุกวิธีจะต้องมีแผลรอบป้านนมเสมอ โดยก่อนผ่าตัดแพทย์จะทำการวัดขนาดเต้านมและวาดตำแหน่งที่จะผ่าตัด และตำแหน่งที่ต้องเลื่อนหัวนมให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปกติ ขนาดของเนื้อนมที่จะตัดออก แผลผ่าตัดที่จะใช้ในการผ่าตัดแนวทางในการผ่าตัดลดขนาดเต้านมที่แพทย์นิยมทำมี 2 วิธีหลักๆ ได้แก่
1)การผ่าตัดโดยผ่าตัดเข้าที่บริเวณปานนม การผ่าตัดวิธีนี้จะเลือกเฉพาะผู้ป่วยที่มีขนาดหน้าอกเล็กและผิวหนังบริเวณหน้าอกไม่ได้หย่อนยานเกินความเป็นไปได้ของผิวหนังที่จะหดตัวลงไปได้ไม่ช้า โดยมากแล้วขนาดของเต้านมของผู้ป่วยมักมีขนาด Cup ประมาณ Cup A ถึง B ข้อดีมีแผลเป็นมีน้อย และมักจะซ่อนแผลได้ดีในระยะยาวมักจะมองไม่ค่อยเห็น ข้อเสีย อาจเกิดการหดตัวของผิวหนังไม่สม่ำเสมอ รวมกับผิวหนังที่ค่อนข้างหย่อนก็จะมีปัญหาผิวหนังเต้านมเกินได้ในบางราย
2)การผ่าตัดโดยการตัดผิวหนังของเต้านมออกร่วมด้วยการผ่าตัด วิธีนี้จะเลือกใช้กับผู้ป่วยที่มีขนาดของเต้านมค่อนข้างโตและมีผิวหนังค่อนข้างเหลือมาก การตัดเต้านมออกโดยการเอาเฉพาะเต้านมออกจะมีผิวหนังที่เหลือและจะห้อยตัวลงมาแทนจะเกิดสภาพเต้านมที่ไม่เรียบเหมือนของผู้ชาย และการแก้ไขจะทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องตัดหนังของหน้าอกออกไปและเย็บให้เรียบ และจะต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปานนมและหัวนมด้วย (nipple and areolar graft) ผลจากการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จึงทำให้ผู้ป่วยจะต้องมีแผลเป็นเกิดขึ้นบนหน้าอกเป็นรูปสมอเรือ (inverted T-shaped scar) ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความรู้สึกของหัวนมจะลดลงกว่าวิธีที่ 1 (ผ่าที่ปานนม) และการหายของแผลจะใช้เวลานานกว่าวิธีที่ 1 หลังผ่าตัดจะมีสายระบายเลือดจากแผลผ่าตัดอยู่ 2 - 4 วัน และต้องนอนพักในโรงพยาบาล 2 - 4 วัน จนกว่าจะนำสายระบายเลือดออก จากนั้นก็สามารถกลับไปนอนพักฟื้นที่บ้านต่อจนกว่าจะตัดไหม ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่วันที่ 7 - 12 วัน
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เหมือนกับการผ่าตัดทั่วๆ ไป คือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างดมยาสลบ แผลผ่าตัดแยก แผลผ่าตัดติดเชื้อ แผลมีเนื้อตาย อาการชาที่หัวนม หัวนมตายบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งต้องปรึกษากับศัลยแพทย์ก่อนผ่าตัดทุกครั้งนมที่ใหญ่ผิดปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น