วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

จุฬาฯ พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร

 


ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UTC) เปิดตัวนวัตกรรมชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร (Progesterone Test Kit) ผลงานการคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้ความร่วมมือของทีมห้องปฏิบัติการงานวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ และทีมวิจัยและทดสอบภาคสนามในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย สำหรับจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้่าสู่วัยเจริญพันธุ์ ใช้บ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด  (ยอมรับการผสมพันธุ์) ทำให้ได้จำนวนสุกรเพิ่มขึ้นและลดต้นทุนในการเลี้ยงสุกรแก่ผู้ประกอบการ  university in thailand

งานแถลงข่าวความร่วมมือนวัตกรรม Progesterone Test Kit และพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดซื้อนวัตกรรมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ MSD Animal Health จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ณ สำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chula UTC) โครงการ Block28 โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ Mr. Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และพิธีลงนามในสัญญาการจัดซื้อระหว่าง ศ.ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (QDD center) และ Mr.Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง “บทบาทและความสำคัญของพันธมิตรที่ขับเคลื่อนการพัฒนางานนวัตกรรมจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด” โดย ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัย Progesterone Test Kit หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ศ.ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ QDD ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.กิตตินันท์ โกมลภิส รองผู้อำนวยการศูนย์ QDD สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ และ Mr.Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health 

นวัตกรรม “ชุดแถบทดสอบสาหรับตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร” (Progesterone Test Kit) เป็นชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกรด้วยสารคัดหลั่งหรือซีรั่มจากร่างกาย อาทิ เลือดหรือปัสสาวะในสุกร ช่วยจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วออกจากสุกรสาวที่เป็นสัดเงียบ ใช้บ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด (ยอมรับการผสมพันธุ์) ของสุกรเพศเมีย ทำให้ผู้ประกอบการรู้ได้ทันทีว่าแม่สุกรนั้นตั้งครรภ์จริงหรือไม่ 

ทั้งนี้ งานวิจัยสู่นวัตกรรมนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารงานและจัดการทุนด้วยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และการให้ความช่วยเหลือด้านการเจรจากับภาคธุรกิจ (MSD Animal Health) การให้คำปรึกษาในการจดทะเบียน อย. การยื่นจด IP การทำ Licensing Agreement, การทำสัญญาซื้อขาย รวมถึงให้คำแนะนำในการดำเนินงานนวัตกรรมทางธุรกิจ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UTC) นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยในห้องปฏิบัติการสู่งานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต โดยศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (Qualified Development Diagnostic Center, QDD center) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกาก็อป ข้อมือเลียนแบบที่มีให้เลือกมากที่สุด

  นาฬิกาก็อป ข้อมือเลียนแบบที่มีให้เลือกมากที่สุด        เราคือศูนย์ผู้จำหน่ายโดยตรงที่มีสินค้ามากมาย หลายแบบหลายยี่ห้อมากที่สุด ทุกยี้ห้อไม...