จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมดูงานภายใต้โครงการ “Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability” เมื่อวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ณ ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ
ในการนี้ รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับ จากนั้น ศ.ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย นำเสนอนโยบายด้านการวิจัย และ ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการและผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ กล่าวแนะนำการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย university thailand
โครงการ “Horizon Southeast Asia: Pushing the Frontiers of Research and Sustainability” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนาองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO RIHED) และ Osnabrück University of Applied Science พร้อมคณะตัวแทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยในโครงการ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ ติมอร์–เลสเต รวมถึงเจ้าหน้าที่จาก SEAMEO RIHED และ Osnabrück University ได้เรียนรู้นโยบายด้านการวิจัยและเยี่ยมชมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่
– ผลงานกลุ่มวิจัยความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศและการรู้รับปรับฟื้น (Climate Risk and Resilience Research Cluster) ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Stockholm Environment Institute (SEI) โดย ดร.ปัณฑิตา ตันวัฒนะ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
– โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation :Thai ARi) โดย ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และการสาธิต “น้องไข่มุก” หุ่นยนต์โทรเวชกรรม (Telemedicine) ในโครงการฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น