ผลข้างเคียงจากการใส่หน้ากากอนามัย และการดูแลผิวหน้า
การสวมหน้ากากอนามัยได้กลายเป็นมาตรการสำคัญในการต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตามการสวมใส่หน้ากากยาวนานตลอดทั้งวันสามารถทำลายเกราะป้องกันผิวและนำไปสู่ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การระคายเคือง, ผิวแห้งกร้าน, รอยแดง, อาการคัน, ปวดแสบ, ผิวตึง, รวมไปถึง สิวจากมาสก์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Maskne = มาสก์ (หน้ากาก) + แอคเน่ (สิว)
ทั้งนี้คุณจะได้รับผลกระทบข้างเคียงเหล่านี้มากยิ่งขึ้น หากคุณมีผิวแพ้ง่ายหรือบอบบาง ที่จริงแล้วหน้ากากอนามัยสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังแบบคาดไม่ถึงหรือทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่แย่ลงกว่าเดิม (เช่น สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, โรคผื่นผิวหนังอักเสบ,โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้) คลีนซิ่ง ไบโอเดอร์ม่า
ไบโอเดอร์มามีคำแนะนำด้านผิวหนังเบื้องต้นที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าทำไมหน้ากากเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวหน้า เมื่ออ่านคำแนะนำด้านผิวหนังด้านล่างนี้แล้ว คุณจะได้ทราบถึงวิธีการดูแลเกราะป้องกันผิวของคุณ รวมถึงการป้องกันผลข้างเคียงจากการสวมใส่หน้ากากอนามัย
ทำไมหน้ากากเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาผิวหน้า?
ปัจจุบันการสวมใส่หน้ากากเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่การสวมหน้ากากก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางนิเวศชีวภาพต่อผิวหนัง เรามองว่าผิวหนังคือระบบนิเวศที่มีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ผิวหน้าไม่คุ้นชินกับการถูกปกคลุมด้วยหน้ากาก เพราะการสวมหน้ากากทำให้เกิดสภาพแวดล้อมแบบกึ่งปิดกั้น ซึ่งขวางกั้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผิวหน้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกตามธรรมชาติ (เช่น การแลกเปลี่ยนความชื้น รังสียูวี และออกซิเจน) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผิวหน้ากับสิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไป จากที่ได้สัมผัสกับอากาศที่มีออกซิเจน ตอนนี้ผิวหน้าถูก “จำกัด” ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้น มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง เนื่องจากการหายใจในสภาพแวดล้อมแบบกึ่งปิดกั้นนี้ก่อให้เกิดปัญหาผิวหน้าที่เกิดจากการหมักหมมความชื้น
ผลการศึกษาจากประเทศจีนที่สำรวจจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจำนวน 407 คน พบว่า 49% มีการเปลี่ยนแปลงของของผิวหน้าที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับหน้ากาก โดยอาการคัน (14.9% ของคนไข้), ผื่นแดง (12.6%), และผิวแห้ง (11.6%) คืออาการที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากนี้ 43.6% ของคนไข้ที่มีสิว 100% ของคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย และ 37.5% ของคนไข้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการกำเริบของโรค1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น