กระเบื้องดินเผาไทย ชวนสู้ร้อนกัน เว้ยเฮ้ย
เมืองใหญ่ หรือหมู่บ้านจัดสรร ที่เต็มไปด้วย อาคารคอนกรีต อาคารแทบทุกหลังเปิดเครื่องปรับอากาศ และหันคอยระบายความร้อนออกมาภายนอก รวมถึงถนนคอนกรีต ที่ช่วยกันสะสม ความร้อน จนกระทั่งเกิดปรากฎการณ์โดมความร้อน
ซึ่งเป็นผลให้ ผู้คนทุกเพศ ทุกวัยต้องปิดขังตัวเองอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน เหมือนเป็นการหนีห่างจากธรรมชาติ
แต่เมื่อเราเดินทางไปยังเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เราจะรู้สึกร้อนน้อยกว่าในเขตเมือง แน่นอนว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นมานานกว่าร้อยปีที่คนมักจะมองข้ามเนื่องจากขาดจิตสำนึกหรืออาจจะเพราะเรายอมที่จะถูกชี้นำโดยสื่อต่างๆ ทำให้ไม่ได้สังเกตเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นใกล้ๆตัวเช่น เราไม่เคยคิดถึงว่าผนังคอนกรีตบ้านเราเองเนี้ยร้อนแค่ไหนเมื่อโดนแดดนานๆ หรือลมร้อนจากคอมแอร์ภายนอก นำความร้อนไปสะสมไว้ที่ไหนอย่างไร พิ้นคอนกรีตในโรงรถร้อนมั้ย
ในขณะเดียวกันคนไทยส่วนใหญ่ก็มองข้าม ภูมิปัญญาไทยที่บรรพบุรุษของเราใช้สู้กับอากาศร้อนในภูมิภาคมาอย่างยาวนาน เช่น รูปแบบของหลังคาอาคารทรงจั่วของเรือนไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หรือมุงด้วยจากหรือฟาง หน้าจั่วที่ปิดด้วยไม้จะมีช่องทางให้อากาศร้อนระบายออกจากโถงใต้หลังคาขนาดใหญ่และสูงได้ดีโดยไม่ต้องมีแผ่นสะท้อนความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนมาเพิ่มเติมอีก ซึ่งแน่นอนว่า วัสดุมุงหลังคาทั้งกระเบื้องหลังคาดินเผาแบบไทยเดิมๆ จากและฟาง คงกลับมาเป็นที่นิยมได้ยากมาก เพราะยุคสมัยนี้ เราจะติดอยู่กับโฆษณาทางทีวีเสียมาก รวมทั้งเรายังฝังใจถึงข้อเสียของวัสดุดังกล่าวมากกว่าที่จะได้รับรู้ข้อดีจากสื่อโฆษณา
ดังนั้น วันนี้ กระเบื้องดินเผาไทย จะไม่ชวนให้คุณๆเปลี่ยนกระเบื้องหรือทุบบ้านเปลี่ยนทรงหลังคา แต่จะช่วยเค้าโฆษณาวัสดุสำหรับช่วยให้บ้านเย็นโดยจะบอกถึงข้อเสียไว้ด้วยนะคะ
1 . ใช้แผ่นสะท้อนความร้อนรองไว้ใต้แผ่นกระเบื้องคอนกรีตของบ้าน
- แผ่นสะท้อนความร้อน ลักษณะเป็นอลูมิเนียมแผ่นบางๆติดอยู่กระดาษหรือพลาสติก บางยี่ห้อมีอลูมิเนียม 2ด้าน
คุณสมบัติคือสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้ามาในโถงใต้หลังคา(เห็นผลน้อย) คนขายมักจะบอกว่าไม่ติดไฟ แต่มันติดไฟง่ายมากนะคะ เคยมีข่าวที่ร้านวัสดุรายใหญ่ไฟไหม้เนื่องจากช่างเชื่อมแล้วสะเก็ดไฟไปติดแผ่นนี้เข้า เรียบร้อยไปเกือบหมดทั้งของทั้งอาคาร ยังไงก็ถามหรือให้ที่ร้านลองให้ดูนะ
2. ฉนวนกันความร้อน เป็นแผ่นหนาหน่อยมีตั้งแต่เป็นเหมือนฟองน้ำ หรือเป็นใยแก้วใส่หรือห่อไว้ในถุงฟลอย กว้างประมาณ90-120 ซม. คุณสมบัติคือกันความร้อนจากโถงใต้หลังคาไม่ให้แผ่ลงมาในตัวบ้าน ซึ่งจะได้ผลดีมากน้อยขึ้นอยู่กับ ความหนาของชิ้นวัสดุ และ ความเรียบร้อยของงานปูแผ่นฉนวน(ไม่ควรมีช่องว่างมากนัก) ข้อเสียคือตัวถุงที่ใส่ใยแก้วกันความร้อนฉีกง่าย เคยได้ยินว่ามีหนูกัดเล่น รวมทั้งเคยเจอช่างรุ่นเก่าไม่ยอมทำให้เพราะกลัวใยแก้ว ส่วนแผ่นฟองน้ำที่เคยทดลอง เป็นวัสดุไม่ลามไฟจริง ลองจุดไฟ ติด แต่มันจะดับเอง แต่ไม่รู้จะอยู่ได้นานแค่ไหน และสัตว์ฟันแทะคงจะชอบ
3. พ่นโฟมใต้หลังคา จะได้ทั้งซ่อมหลังคารั่ว กันเสีย กันความร้อน อันนี้ไม่เคยสัมผัสไม่สามารถบอกข้อเสียได้คะ
4. อันนี้ ถ้าทำได้นะคะ จะดีเลิศ ปลูกต้นไม้บังแดดคะ ทุกคนในบ้านจะได้มีกิจกรรมนอกห้องแอร์กันบ้าง สุขภาพจะได้แข็งแรง แล้วก็สร้างศาลาไทยหลังเล็กๆมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไทย ทุกคนจะได้มีกิจกรรมในครอบครัวเพิ่มขึ้น ข้อเสียคือต้องดูแล รดน้ำ ตัดแต่งโดยเฉพาะเขตหมู่บ้านจัดสรรเพื่อนบ้านอาจจะไม่ชอบนะคะ
กันความร้อนด้านบนคงหมดเท่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น