ส่วนประกอบในชาก็แล้วแต่ว่าเลือกใช้ชาประเภทไหนมาเป็นวัตถุดิบในการหมัก ซึ่งหลักๆ ชาแต่ละชนิดก็มีความคล้ายกัน แต่ถ้าในรายละเอียดของสารพฤษเคมี (Phytonutrients) ที่อยู่ภายในชาแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน kombucha
น้ำตาลเองก็เหมือนกันกับชา แล้วแต่ว่าจะเลือกใช้น้ำตาลประเภทไหนมาเป็นวัตถุดิบในการหมัก ไม่ว่าจะเป็นฟลุคโตสคอนไซรัป (HFCS: High Fructose Corn Syrup) น้ำตาลโตนด น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดง
กลิ่นจากการแต่งเติมก็เป็นเทคนิคในการหมักคอมบูชาที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ เพราะลำพังแบบดั้งเดิมนั้นจะมีเพียงรสชาดเปรี้ยวซ่า แต่พอมีการแต่งเติมกลิ่นจากผลไม้ เครื่องเทศ หรือสมุนไพรลงไปจะทำให้ได้กลิ่นหอมสดชื่นตอนดื่มเพิ่มขึ้นไป ซึ่งส่วนตัวผมไม่แนะนำให้ใช้กลิ่นแต่งเติมจากสารสังเคราะห์ ถึงแม้ว่ามันจะหอมหวานสดชื่นสักเพียงไหนแต่มันก็คือสิ่งแปลกปลอมที่คนสร้างขึ้นมาเท่านั้นเอง
กรดที่เกิดจากการหมักมีมากมายหลายอย่าง ซึ่งมีประโยชน์มากๆ สำหรับร่างกายเพราะเมื่อกรดพวกนี้เข้าไปในร่างกายจะกลายเป็นด่างที่ช่วยปรับสมดุลต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น กรดที่มักพบได้ในคอมบูชา คือ
- Citric acid (สารต้านอนุมูลอิสระ)
- Malic acid (ช่วยการขับสารพิษของตับ)
- Butyric acid (ต่อต้านยีสต์ที่ไม่ดีในร่างกาย)
- Glucoronic acid (แหล่งของกลูโคซามีน)
- d-Gluconic acid (ทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น