การทำหัตถการทางการแพทย์ หรือ Medical Procedure คือการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของคนไข้ เพื่อตรวจและวินิจฉัยโรคหรือความผิดปกติ รวมถึงเป็นวิธีที่ใช้ในการรักษาดูแลคนไข้ การทำหัตการทางการแพทย์ผู้ดูแลต้องมีความรู้และประสบการณ์ และผ่านการศึกษา ฝึกอบรมจนเกิดทักษะเป็นอย่างดี เนื่องจากการทำหัตการทางการแพทย์เป็นสิ่งที่อันตราย หากมีข้อผิดพลาด หรือภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ การทำหัตถการได้มีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ หัตถการคลินิก
Non Invasive Procedure
Non Invasive Procedure คือ การทำหัตถการที่มีการใช้ยารับประทาน นวด กดจุด ฝังเข็ม ซึ่งไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อคนไข้ หรือผู้รับบริการ ซึ่งขั้นตอนทางการแพทย์ไม่มีการผ่าตัดหรือนำเครื่องมือแพทย์เข้าสู่ร่างกาย ไม่ทำให้เจ็บหรือเกิดแผล เช่น อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)
Minimally Invasive Procedure
Minimally Invasive Procedure คือ การทำหัตถการที่ต้องผ่าตัดเปิดแผลเพียงเล็กน้อย เป็นขั้นตอนทางการแพทย์ที่ต้องผ่าตัดหรือใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดแผล และรู้สึกเจ็บ เช่น การส่องกล้องทางปาก (Endoscopy) และการส่องกล้องทางทวารหนัก (Colonscopy) หรือทางศัลยกรรมจะเป็นการร้อยไหม เลเซอร์ และใส่วัสดุเสริม การทำหัตถการกลุ่มนี้จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่เพื่อลดความเจ็บปวด
Invasive Procedure หรือ Major Operation
Invasive Procedure หรือ Major Operation คือการผ่าตัดใหญ่ จะต้องทำหัตถการในช่วงระหว่างการให้ยาสลบ หรือการดมยา โดยการทำหัตถการกลุ่มนี้จะมีทั้งแบบที่ง่ายไปจนถึงยากมากและซับซ้อน ซึ่งการวางยาสลบหรือดมยาจะอยู่ในการดูแลของทีมวิสัญญีแพทย์ หรือวิสัญญีพยาบาล และการทำหัตการแบบนี้จะต้องทำในห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน เป็นห้องปลอดเชื้อ 100% เพื่อป้องกันการติดเชื้อ มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตครบครับพร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ หรือผู้รับบริการ
ผู้ที่สามารถทำหัตถการได้
ผู้ที่สามารถทำหัตถการได้ จะต้องผ่านการศึกษาและฝึกอบรมจากสถานบันทางการแพทย์แล้ว โดยผู้ที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่สามารถทำหัตถการ อย่างเช่นแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์ประจำบ้านที่ยังไม่มีพื้นฐานมากพอ จะสามารถดูแลคนไข้หรือให้บริการในกลุ่ม Non Invasive Procedure ไปจนถึง Invasive Procedure ได้ หากเป็นการทำหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมาก แพทย์หรือผู้ดูแลจะต้องมีประสบการณ์มากและมีคุณสมบัติมากเพียงพอ ผ่านการฝึกอบรมเป็นเวลา 3-6 ปี มีความรู้เพียงพอและเป็นแพทย์ชำนาญการในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ กรณีที่มีการดมยาหรือให้ยาสลบแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ไม่สามารถทำได้เอง จะต้องทำและดูแลโดยทีมวิสัญญีแพทย์เท่านั้น
สถานที่ให้บริการสำหรับการทำหัตถการ ควรเป็นสถานที่ที่ผ่านมาตรฐานการรับรองจากกระทรวงสาธารณะสุข และได้รับใบรับรองอย่างถูกต้องทางกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และผู้รับบริการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น