1. ควรมีข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรมที่มีความชัดเจนและถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้มีระบบการกำกับตรวจสอบโรงงานที่เข้มงวด และควรมีการใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการบ่งชี้ผู้ก่อกำเนิด และควรมีการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นรวมถึงเครือข่ายในการติดตามตรวจสอบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม
2. ควรปรับปรุงกฎระเบียบที่ควบคุมกากอุตสาหกรรมและการพัฒนาระบบการกำกับดูแลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำกับ ติดตาม ตั้งแต่ผู้กำเนิดกากอุตสาหกรรม ผู้ขนส่ง และผู้บำบัด/กำจัดกากอุตสาหกรรม (ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ)
3. ควรมีระบบการตรวจสอบเป็นลักษณะ Real time และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากผู้ขนส่งกากของเสียอุตสาหกรรมจนถึงผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม รับกำจัดกากอุตสาหกรรม
4. ควรมีระบบการเปิดเผยข้อมูลการปลดปล่อยของเสียที่ต้นทาง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาพิจารณ์อย่างทั่วถึงและครอบคลุม เพื่อแก้ไขปัญหาภาระของประชาชนและหน่วยงานภาครัฐในการสืบหาแหล่งที่มาของการปนเปื้อน โดยการสนับสนุนให้มีกฎหมาย PRTR เพื่อทำให้ประเทศมีระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ทุกภาคส่วนเข้าถึงข้อมูลได้
5. การใช้ข้อมูลในระบบศูนย์ข้อมูลสารเคมีและวัตถุอันตรายแห่งชาติ โดยให้เพิ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบได้ และหน่วยงานภาครัฐต้องร่วมมือกันในการติดตาม/สอดส่อง/เฝ้าระวัง/แก้ปัญหา และ
6. ควรมีความชัดเจนของนโยบายและมาตรการในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้วางแผนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีระยะเวลาที่ชุดเจน เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในภาครัฐที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น