ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นกฎหมายกำหนดให้มีการติดตั้งในอาคารตาม พรบ. ควบคุมอาคาร พศ 2522 ซึ่งกำหนดให้ทุกชั้นของอาคารตามกฎหมายต้องทำการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ติดตั้งระบบระบายอากาศ ติดตั้งระบบตรวจจับควันไฟ โดยระบบทั้งหมดจะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีและระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องเป็นระบบอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ การติดตั้งระบบต้องทำการติดตั้งโดยบริษัทที่มีความชำนาญและการติดตั้งออกแบบระบบตั้งเป็นไปตามมาตรฐานสากล NFPA ระบบ เตือน ไฟ ไหม้
ต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้อะไรบ้าง
โดยส่วนใหญ่ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) ปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการตรวจสอบให้มั่นใจอยู่เสมอว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปกติซึ่งเราจะแน่ใจได้ก็ต่อเมื่อทำการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ประจำปี Smoke Detector
การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องทำอย่างไรบ้าง
การบำรุงรักษา PM คือการยืดอายุอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนเดิมเช่น การทำงานสะอาด เช็ดถูอุปกรณ์ต่างๆ การขันน๊อตเพื่อตรวจสอบในจุดที่มีการเชื่อมต่อให้แน่นอยู่เสมอ การหยอดสารหลอลื่นหรือการพ่นสเปย์หลอลื่นในหน้าคอนเทคระบบไฟฟ้าต่างๆเป็นต้น การทำความสะอาดตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทั้งภายในและภายนอกปัดกวาดเช็ดถูรอบตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ ตรวจสอบและทดสอบแบตเตอร์รี่สำรองในตู้คอนโทล
หากเราทำการบำรุงรักษาระบบไฟอลามของเราให้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีคอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพื้นที่และบริเวณที่ทำงานได้เพราะหากเกิดเหตุระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ก็จะเตือนเราก่อนที่จะมีเหตุการณ์ใหญ่ส่งผลให้เกิดไฟไหม้บาดเจ็บหรือมีทรัพย์สินเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น