นักวิจัยจุฬาฯ เผยโควิดระบาดกระทบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความเชื่อมั่นในรัฐ ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อปกปิดข้อมูล เป็นอุปสรรคต่อการควบคุมการแพร่ระบาด พร้อมแนะรัฐเร่งให้ความรู้เรื่องสิทธิตามกฎหมายเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในสังคม
ต้นปี 2563 ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยกำหนดให้ผู้เดินทางเข้าไทยทุกคนต้องถูกบังคับกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน ในสถานที่ที่ส่วนกลางจัดให้ ในเวลานั้น มีบางเที่ยวบินกำลังนำคนไทยกลับบ้าน ซึ่งผู้โดยสารบนเครื่องยังไม่รับรู้ข่าวการประกาศดังกล่าว และทันทีที่เครื่องลงจอด ก็เกิดความโกลาหลขึ้นที่ท่าอากาศยาน ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐอ้างประกาศและข้อบังคับในกฎหมาย พร้อมนำผู้โดยสารทั้งหมดตรงไปยังสถานที่กักตัว แน่นอน ผู้โดยสารหลายคนไม่ยินยอมและหนีกลับที่พักตนทันที bangkok university
ข้อมูลชื่อ-นามสกุลและที่อยู่ของผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวรั่วไหลออกมาในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้โดยสารรวมไปจนถึงสมาชิกในครอบครัว ถูกตีตราจากสังคมว่า “เป็นคนเห็นแก่ตัว” “ไม่รักชาติ” กระทั่งถูกบุกรุกคุกคามถึงที่พักด้วย
เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง ระหว่างฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมกับบุคคลที่พึงได้รับการปกป้องสิทธิเช่นเดียวกัน? ในภาวะคับขันเช่นนี้ พลเมืองและรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศต่างเผชิญกับการตัดสินใจที่ชักเย่อกันไปมาระหว่างผลประโยชน์สาธารณะกับการเคารพในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน
ประเด็นนี้เป็นแรงจูงใจให้ ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยอาวุโส (Senior Research Fellow) แห่ง LIRNEasia ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง Health-Related Information & COVID-19 : A Study of Sri Lanka and Thailand ร่วมกับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล Ramathi Bandaranayake และ Ashwini Natesan โดยให้ความสนใจกับวิธีการเก็บ การใช้ และการคุ้มครองดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งของประเทศไทยและศรีลังกา โดยเป็นโครงการนำร่องต้นแบบการศึกษาการปกป้องสิทธิและข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในประเทศกำลังพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น