โปรแกรม VR (Virtual Reality) หอประวัติกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในความทรงจำ เป็นผลงานจากโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างแผนที่เสมือนจริงภายในหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์ในระบบสามมิติผ่านแพลตฟอร์ม 5G และที่เหนือกว่าภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันไทยศึกษากับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการนำเสนอข้อมูล สิ่งของ และเรื่องราวในหอประวัติจุฬาฯ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบให้ผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้แบบสัมผัสประสบการณ์ ซึ่งโปรแกรม VR หอประวัติจุฬาฯ ชิ้นนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัย “การสร้างระบบนิเวศและโครงข่าย 5G แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับงานวิจัยเชิงอุตสาหกรรม การศึกษาและการแพทย์” red gems
VR หอประวัติจุฬาฯ เล่าอดีตทันสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
VR เป็นสื่อที่นำมาใช้ในการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงแบบสามมิติในหลายรูปแบบ หากแต่ยังไม่ค่อยนำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลความรู้มากนัก คณะผู้วิจัยและผลิตโปรแกรมจึงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นสื่อเชื่อมคนรุ่นใหม่ให้เข้าถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์
“เด็กรุ่นใหม่สนใจประวัติศาสตร์น้อยลง ในฐานะที่เราอยู่กับนิสิต ก็เข้าใจธรรมชาติของเขา และพยายามออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่เข้ากับเขาให้ได้มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกสนุกตื่นเต้นและอยากเรียนรู้มากขึ้น” ดร.รัชนีกร รัชตกรตระกูล นักวิจัยชำนาญการ สถาบันไทยศึกษา หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว
“เราอยากให้คนเข้าใจว่า VR ไม่ใช่เกม แต่เป็น Edutainment คือ Education + Entertainment เป็นการเชื่อมต่อระหว่างความบันเทิงกับการศึกษา ที่เข้าถึงผู้คนได้ในวงกว้าง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา”
ดร.รัชนีกร กล่าวถึง 3 แนวคิดที่เป็นหัวใจของการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม VR หอประวัติจุฬาฯ ให้มีทั้งความสนุกและสาระ ได้แก่
1. เข้าใจง่าย เลือกเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและใช้วิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ คนทุกวัยเรียนรู้ได้
2. เข้าถึงง่าย เพียงมีอินเทอร์เน็ตและเครื่อง VR ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์เข้าชมหอประวัติจุฬาฯ แบบเสมือนจริงได้
3. เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การใช้ประสาทสัมผัส ทั้งการดู การฟัง การสัมผัส เป็นองค์ประกอบบสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และจดจำได้ดี
“ใน VR เราเห็นภาพคมชัดและกว้าง 360 องศา ได้ยินเสียงชัดแบบสเตอริโอ และที่สำคัญสามารถสัมผัสจับต้องวัตถุ ที่พิพิธภัณฑ์จริงไม่อนุญาตให้เราสัมผัส” ดร.รัชนีกร กล่าวถึงข้อดีของการเที่ยวพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรม VR
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น