ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือโรคชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากรูปแบบของการทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังที่บริเวณคอ บ่า ไหล่ เอว และข้อมือ จนมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นมีอาการชาที่บริเวณมือหรือแขน โดยสาเหตุของการเกิดอาการเช่นนี้ก็คือการนั่งหลังค่อม นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน
เช่นการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน 6 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวที่เพียงพอ ซึ่งบางคนอาจมีอาการหนักถึงขั้นหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ ข้อมือที่ถูกกดหรือบิดเอียงไปจากแนวธรรมชาติจากการพิมพ์งานหรือใช้คีย์บอร์ดนาน ๆ
และนอกจากท่านั่งแล้ว ความเครียดที่เกิดจากการทำงานและสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ไม่เหมาะสมก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมด้วย โดยอาการออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นกับกลุ่มของพนักงานบริษัทที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงาน หรือประกอบกับปัญหาด้านกระดูกและกล้ามเนื้อที่มีอยู่เดิมด้วย คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน
อาการของออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?
- มีอาการเจ็บ ปวด หรือตึงกล้ามเนื้อตามร่างกายแบบเฉพาะส่วนเป็นวงกว้าง เช่นบริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และเอว เป็นต้น โดยความรุนแรงก็มีระดับที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดแบบทรมานมาก
- หรือรู้สึกมึนงง วูบ หรือเหงื่อออก
- บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น มือหรือแขนเกิดอาการชา
- มีอาการปวดศรีษะร่วม ซึ่งมักเกินจากอาการเครียดสะสม หรือเดินทางบ่อยจนเกินไป เป็นต้น
- มีอาการตาพร่ามัว ปวดตา จากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- มีอาการเหนื่อยล้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าจากภาวะการทำงานที่กดดันหรือทำงานหนักเกินไป
อาการของออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับด้วยกัน โดยเริ่มแรกอาจมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานเป็นประจำเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงแล้วหายไป ตามมาด้วยระดับ
ระดับที่ 2 ที่มักมีอาการปวดเมื่อย อ่อนล้า หลังจากที่ทำงานไปเพียงประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่หายไป และเริ่มส่งผลต่อการนอนหลับของผู้ป่วย ส่วนระดับที่ 3 คือผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด เจ็บ ชา หรืออ่อนแรงที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นแทบจะตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น