วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะขาดสารอาหารให้กลับมามีสุขภาพดี

 



เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพของช่องปากและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงจนนำไปสู่ภาวะการขาดสารอาหาร หรือภาวะโภชนาการต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับในปริมาณที่น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ในบางกรณีอาจเกิดจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมและนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้ ร่างกายจึงขาดโปรตีนและพลังงานจนทำให้ร่างกายซูบผอม ไร้เรี่ยวแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ง่วงซึม เกิดจ้ำเลือดตามร่างกายได้ง่าย และภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดูแลต้องทราบสาเหตุและสามารถสังเกตุอาการเบื้องต้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงของผู้สูงอายุ


สาเหตุของการขาดสารอาหาร 

โปรตีน คือ ภาวะการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ ไม่ใช่การเจ็บป่วยที่สามารถมองเห็นความผิดปกติได้โดยทันที แค่ต้องใช้เวลาสังเกตอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง การขาดสารอาหารจึงเป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้ก่อนที่อาการจะลุกลามจนกลายเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา ซึ่งหากรู้ถึงสาเหตุของการนำไปสู่การขาดสารอาหาร ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที โดยสาเหตุของการขาดสารอาหารมาจาก 3 สาเหตุหลัก ดังนี้  

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ เช่น ประสาทสัมผัส ทำให้การมองเห็น การรับรส การได้กลิ่น การบดเคี้ยวไม่มีประสิทธิภาพดังเดิม ความเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหารที่ทำให้กระเพาะอาหารใช้เวลาบีบตัวนานขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงและอิ่มเร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้สูงอายุมีผลให้ความอยากอาหารน้อยลง รู้สึกเบื่อหน่าย เกิดความวิตกกังวล และอาจมีภาวะซึมเศร้า 

อาการเจ็บป่วย เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีอาการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งผลข้างเคียงของโรคและยารักษาที่ต้องทานเป็นประจำ อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากอาหาร  

ปัจจัยทางสังคม เช่น การถูกทอดทิ้งจากลูกหลานให้ใช้ชีวิตเพียงลำพัง การทานอาหารเพียงคนเดียวเป็นประจำ ขาดการเข้าสังคม ภาวะทางเศรษฐกิจ หรือสูญเสียอาชีพและความมั่นคงในชีวิตไป 


วิธีการประเมิน หรือคัดกรองภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงวัย

ในเบื้องต้นเราสามารถสังเกตอาการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุได้จากสัญญาณที่บ่งชี้ เช่น น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ผมร่วง ผิวซีด วิงเวียนศีรษะง่าย หน้ามืด ใจสั่น เป็นลมหมดสติ มีความรู้สึกเพลียและอยากนอนอยู่ตลอดเวลา ไม่สบายได้ง่าย และใช้เวลาในการฟื้นตัวช้ากว่าปกติ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แขนขาชา รวมไปถึงอาการทางด้านจิตใจ เช่น ไม่มีสมาธิ จิตใจวอกแวก หงุดหงิดฉุนเฉียว เชื่องช้า และซึมเศร้า เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เหตุใดคุณควรลงทุนในคุณภาพของสินค้าพรีเมี่ยม

  สินค้าพรีเมี่ยม คืออะไร ? ก่อนที่เราจะลงลึกถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยม สิ่งสำคัญคือต้องนิยามความหมายของคำนี้ก่อน ผลิตภัณฑ์ระด...