ผู้ป่วยเบาหวานควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน วิธีการดูแลรักษาโรคเบาหวาน สามารถดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งจุดมุ่งหมายคือเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
9 เรื่อง “เบาหวาน” ที่จำเป็นต้องรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
- โภชนบำบัด เบาหวานขึ้นตา
- การออกกำลังกาย
- ยารักษาเบาหวาน
- การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองและการแปลผล
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง และวิธีการป้องกันรักษาโรค
- โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
- การดูแลรักษาเท้า
- การดูแลรักษาในภาวะพิเศษ เช่น การตั้งครรภ์ การเดินทางไปต่างประเทศ เล่นกีฬา เป็นต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตพิชิตเบาหวาน
Lifestyle หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพฤติกรรมต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องปรับเปลี่ยน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารไม่ได้หมายถึงการลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมทั้งปริมาณและชนิดของอาหาร ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ โดยปริมาณน้ำตาลที่รับประทานทั้งวันต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานรวม (ประมาณ 3-5 ช้อนชา) การควบคุมอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งการรักษาด้วยยาอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรหากขาดการควบคุมอาหาร
บริโภคอาหารที่มีกากใยสูง
แนะนำให้ทานอาหารเพื่อให้ได้ใยอาหาร 14 กรัม ต่ออาหาร 1,000 กิโลแคลอรี ควรรับประทานผลไม้รสหวานในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำผลไม้ และผลไม้ที่มีรสหวานจัด
ออกกำลังกายช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
การออกกำลังกายทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตและช่วยให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้น ก่อนออกกำลังกายควรประเมินสุขภาพด้วยว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือไม่ ซึ่งควรเริ่มออกกำลังกายจากเบาๆ ก่อน ให้ชีพจรเท่ากับร้อยละ 50-70 ของชีพจรสูงสุด และควรออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยออกกำลังกายวันละ 30-50 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น