“ประเทศอังกฤษ” ดินแดนยอดฮิตตลอดกาลในด้านการศึกษาต่อยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยเรื่องคุณภาพของหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองและความหลากวัฒนธรรม ล้วนแต่เป็นเหตุผลหลักที่มักดึงดูดเยาวชนในแต่ละชาติ ให้มุ่งหน้าเดินทางไปเล่าเรียนยังสหราชอาณาจักรแห่งนี้นี่เอง
เรียนต่อต่างประเทศ แต่การจะไปเล่าเรียนยังประเทศอังกฤษได้ ตามรูปแบบขั้นตอนที่สำคัญ เราจำเป็นต้องวางแผนแนวทางการศึกษาเสมอ เช่นเดียวกับการเดินทางไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วยปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะ การยื่นขอวีซ่า – การเตรียมเอกสาร – การเลือกสถาบันการศึกษา – เมืองที่อาศัย และที่จะขาดไปไม่ได้เลย นั่นก็คือ การคำนึง-คำนวณ ถึง “ค่าครองชีพ” ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ค่าครองชีพคือหนึ่งสิ่งที่นักเรียนต้องเตรียมตัวก่อนเดินทางไปเรียนต่อยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะนั่นคือการวางแผนที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากขาดไปก็ไม่เพียงพอและอาจส่งผลต่อความลำบากในชั่วขณะได้ แล้วค่าครองชีพที่อังกฤษเป็นอย่างไร? แพงกว่าความเป็นอยู่ที่ไทยมากไหมนะ?
“ค่าเงิน” ประเทศอังกฤษเป็นอย่างไร ?
ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องรู้จักหน่วยเงินตราของประเทศอังกฤษเป็นอันดับแรก “ปอนด์” คือสกุลเงินที่เรามักคุ้นหูและหลายคนนิยมพูดแทนค่าเงินของประเทศอังกฤษมาโดยตลอด ซึ่ง “ปอนด์” มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า “ปอนด์สเตอร์ลิง” มีสัญลักษณ์แทนสกุลเงินดังนี้ “£” นอกจากนั้น ปอนด์ ยังเป็นสกุลเงินที่ไม่ได้ถูกใช้แค่ประเทศอังกฤษเท่านั้น เพราะปอนด์สเตอร์ลิง เป็นค่าเงินที่ถูกใช้ภายในสหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วย เวลส์ และ สกอตแลนด์ รวมทั้งภูมิภาคอื่น ๆ อย่าง หมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช และ เจอร์ซีย์ ก็ใช้ค่าเงินปอนด์เช่นเดียวกัน ปัจจุบัน ปอนด์มีค่าเงินสูงกว่าประเทศไทยค่อนข้างมาก โดย 1 ปอนด์สเตอร์ลิง จะคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 46 บาท
เนื่องจากค่าเงินที่สูงกว่าไทยค่อนข้างมาก ส่งผลให้ค่าครองชีพภายในประเทศอังกฤษย่อมสูงกว่าประเทศไทยตามไปด้วย บนเว็บไซต์ numbeo.com แหล่งรวบรวมสถิติค่าครองชีพจากทั่วโลก ได้เผยสถิติอัตราค่าครองชีพเฉลี่ยของประเทศอังกฤษเอาไว้ว่า “มีอัตราสูงกว่าประเทศไทยถึง 62.96%” ส่วนอัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มสูงกว่าไทยถึง 119.99% เลยทีเดียว นอกจากนั้น ยังได้มีการคำนวณโดยเฉลี่ยว่า อัตราค่าครองชีพรายเดือน ณ ประเทศอังกฤษ จะตกอยู่ที่ประมาณ 651.42 ปอนด์ หรือประมาณ 30,000 บาทต่อคน โดยยังไม่รวมกับค่าเช่าที่อยู่อาศัย.
ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าครองชีพในฉบับนักเรียน จะยังคงขั้นอยู่กับตัวแปรอีกหลายส่วน เช่น เมืองที่เลือกอาศัย – การเลือกซื้อสินค้า – นิสัยการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล – ความใกล้/ไกลในการเดินทาง หรือจะสิ่งของนันทนาการระหว่างการใช้ชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น