วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน ผสานความรู้ในตำรากับประสบการณ์จริงของชีวิต

 


การเรียนรู้จากประสบการณ์และความสามารถในการนำความรู้มาใช้กับชีวิตให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตัวเองและสังคมคือความหมายของการเรียนรู้ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเน้นให้ความสำคัญ อย่างที่คณะนิติศาสตร์ ได้เปิดโครงการ “ห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน” (LawLAB for Human Rights) ให้นิสิตปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ที่สนใจประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ได้เป็นอาสาสมัครทำงานร่วมกับภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะได้รับประสบการณ์ทำงานที่หาไม่ได้จากในห้องเรียนแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและเผยแพร่ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนให้ประชาชนด้วย university in bangkok


จุดเริ่มต้นห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน

โครงการ “ห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน” เกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีนิสิต นักศึกษา และนักเรียนจำนวนมากออกมาแสดงพลังเพื่อเรียกร้องทางการเมือง นำไปสู่เหตุปะทะกับรัฐ รวมถึงการจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ทำให้คณาจารย์หลายคนและภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือนิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะในด้านคดีดความ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ดร.พัชร์ นิยมศิลป จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

“ในประเทศไทย สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ได้รับรองโดยรัฐธรรมนูญ รัฐมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิมนุษยชน แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงมีอยู่ โดยที่หลายครั้ง ผู้ถูกละเมิดไม่รู้ว่าตัวว่ากำลังถูกละเมิดสิทธิ เช่น การใช้กฎหมายฟ้องคนหรือกลุ่มคน เพื่อขัดขวางการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ” อาจารย์ ดร.พัชร์ กล่าว

“กลไกการปกป้องสิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากประชาชนไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิอะไร หรือแม้รู้แล้ว ก็ต้องเรียกร้องให้รัฐทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะสิทธิที่ถูกละเมิด ไม่ใช่แค่สิทธิของผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่เป็นสิทธิของทุกคน ซึ่งหากเราเห็นคนอื่นถูกละเมิด เราก็ควรเข้าไปช่วยปกป้อง เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนต้องร่วมกันปกป้อง”

เหตุการณ์ทางการเมือง ประกอบกับกระแสความตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยในประเด็นต่าง ๆ ทั้งการเมือง สิ่งแวดล้อม ปัญหาปากท้อง ความเป็นธรรมด้านสาธารณสุข การศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ ฯลฯ ได้จุดประกายให้อาจารย์ ดร.พัชร์ จัดตั้งโครงการ “ห้องปฏิบัติการกฎหมายสิทธิมนุษยชน” (LawLAB for Human Rights) เพื่อให้นิสิตได้ร่วมยกระดับความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงกับหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้การสนับสนุนโครงการฯ ได้แก่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ilaw) ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) มูลนิธิเส้นด้าย และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกาก็อป ข้อมือเลียนแบบที่มีให้เลือกมากที่สุด

  นาฬิกาก็อป ข้อมือเลียนแบบที่มีให้เลือกมากที่สุด        เราคือศูนย์ผู้จำหน่ายโดยตรงที่มีสินค้ามากมาย หลายแบบหลายยี่ห้อมากที่สุด ทุกยี้ห้อไม...