วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

นิสิตบัญชีฯ จุฬาฯ เรียนรู้จากการรับใช้สังคม ลุย Sandbox ธุรกิจ ช่วยชุมชนสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น

 


การเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการจำลองแผนธุรกิจเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ก็จริง แต่ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากการลงมือทำ – นี่เป็นเสียงสะท้อนจากนิสิตชมรม Chula SIFE คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เพิ่งคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ TSX Youth Award Program 2022 ในงาน Thailand Sustainability Expo 2022 ที่ผ่านมา จากโครงการพัฒนาสินค้าชุมชน “ชาบัวเพื่อสุขภาพ” ภายใต้แบรนด์ “นลิน” ร่วมกับนักเรียนมัธยมโรงเรียนบึงบอระเพ็ดวิทยา จังหวัดนครสวรรค์

“การทำกรณีศึกษาหรือการจำลองทำธุรกิจในห้องเรียน เราได้แค่การวางแผน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จจริงหรือไม่ แต่เวลาเราได้ร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจชุมชน เราต้องลงพื้นที่ เห็นปัญหาและโอกาสทางธุรกิจ ได้ลองคิดวางแผนแล้วลงมือทำจริง ๆ เราก็จะได้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดและวางแผนนั้นเวิร์กหรือไม่เวิร์ก เป็นประสบการณ์ที่หาจากที่อื่นไม่ได้” ภัธรภรณ์ พุฒิพรรณพงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าว  bangkok university

เพื่อนร่วมทีม Chula SIFE อีก 3 คนที่ทำโครงการ “นลิน” ประกอบด้วย นางสาววรกมล ธารสุวรรณวงศ์ นางสาวจิดาภา อธิภัคกุล และนายธีร์ พงศ์พลไพรวัน ซึ่งร่วมให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “โครงการนี้ฝึกให้พวกเราได้ลงมือทำธุรกิจจริง ๆ พวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับคน การทำบัญชี การตลาด ซึ่งเปิดโอกาสให้พวกเราได้เห็นและรู้จักตัวเองว่าเราชอบการบริหารธุรกิจหรือเปล่า ถนัดตรงไหน มีทักษะใดที่เรายังต้องเรียนรู้เพิ่มเติม”

Chula SIFE สานฝันธุรกิจชุมชน

Chula SIFE ย่อมาจาก Students in Free Enterprise เป็นชมรมหนึ่งของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่เปิดพื้นที่ให้นิสิตจากทุกสาขาวิชาของคณะฯ ฝึกเป็น “ที่ปรึกษาทางธุรกิจ” นำความรู้และทักษะที่เรียนมารับใช้สังคม ดังข้อความในประกาศเชิญชวนนิสิตชั้นปีที่ 1 ให้มาสมัครเข้าร่วมชมรมว่า “ใครที่อยากหาประสบการณ์การลงพื้นที่ทำงานจริง ที่จะนอกจากจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ นอกห้องเรียนแล้ว ยังได้พัฒนาชุมชนไปพร้อม ๆ กันด้วย”

ชมรม Chula SIFE ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2548 และเปิดรับสมัครนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมชมรมทุกปี ซึ่งตลอด 18 ปีของการก่อตั้ง ชมรม SIFE ได้ช่วยธุรกิจชุมชนแล้วมากกว่า 10 โครงการทั่วประเทศไทย ทั้งนี้ ธุรกิจชุมชนที่ชาวชมรม SIFE กำลังร่วมช่วยดูแลในปัจจุบัน อาทิ โครงการผ้าขาวม้า จ.นครราชสีมา โครงการสวายสอ จ.บุรีรัมย์ โครงการคนทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์ และโครงการนลิน จ.นครสวรรค์

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเหล่านี้ นิสิตเป็นผู้เสาะหามานำเสนอกันเอง ส่วนการดำเนินงานชมรม Chula SIFE ได้รับการสนับสนุนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี โดยมีคณาจารย์คอยให้คำปรึกษาแก่นิสิต จัดสรรงบ และดูแลนิสิตในการลงพื้นที่ด้วย

“เราจะลงเก็บข้อมูลในพื้นที่ก่อน ดูว่าธุรกิจของชุมชนมี pain point ตรงไหน เราจะช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง แล้วก็จะกลับมาปรึกษากันเองก่อนที่จะนำข้อแนะนำกลับไปให้ชุมชน” จิดาภา กล่าวยกตัวอย่างการทำงานของชมรม Chula SIFE ที่เป็นเสมือนหน่วยธุรกิจบริการให้คำปรึกษาการวางแผนธุรกิจและพัฒนาแบรนด์ให้กับชุมชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

บริการที่นิสิตชมรม SIFE ทำร่วมกับชุมชนครอบคลุมทั้งการพัฒนาสินค้า (product developer) การให้คำปรึกษาวางแผนธุรกิจและการตลาด (business consultant) การถ่ายทอดความรู้และอบรมทักษะสำคัญทางธุรกิจ (knowledge sharer) และการผลิตเนื้อหาในการสื่อสาร (content creator)

“เป้าหมายของพวกเราก็คือเมื่อพวกเราจะถอนตัวออกไป ชุมชนจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยตัวเอง” จิดาภา กล่าวเน้น 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

The Royal Cliff Hotels Group: Discover Our 5-Star Pattaya Hotels

 Golden shores. Rolling seas. Breathtaking skyscapes. If you’re seeking an unforgettable luxury escape on the charming coast of Thailand, th...