วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ภัยจากการทานยาในผู้สูงอายุ ที่คนดูแลผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!!!

 

ภัยจากการทานยาในผู้สูงอายุ ที่คนดูแลผู้สูงอายุไม่ควรมองข้าม!!!

   ผู้สูงอายุถือว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านสุขภาพหลายด้าน มีโอกาสได้รับยาหลายชนิด และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจากการใช้ยาและเกิดผลข้างเคียงได้ง่าย เนื่องจากความชราทำให้สภาพร่างกายเสื่อมลงไปตามวัย การกำจัดยาออกจากร่างกายจึงลำบากมาก อีกทั้งการดูดซึมยาลดลง การกระจายตัวของยาไม่ค่อยดี อาจพบปริมาณยาที่ค้างอยู่ในร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยาได้ ดังนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ใส่ใจและระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุอย่างมาก หลังจากได้ยาจากแพทย์มาแล้ว สิ่งที่คนดูแลผู้สูงอายุควรทำคือ จัดยาให้ผู้สูงวัยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงวัยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง เริ่มจากการอ่านฉลากอย่างถี่ถ้วนทุกบรรทัด เพื่อสามารถใช้ยาได้ถูกต้อง ถูกขนาด ถูกวิธีและตรงต่อเวลา ตรวจดูวันหมดอายุของยาและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอพร้อมติดตามการรักษากับแพทย์ ไม่ควรนำตัวอย่างไปซื้อเองในกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยหลายโรคพร้อมกัน และได้รับยารักษาโรคจากแพทย์หลายท่าน ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรนำยาทั้งหมดไม่ว่าจะได้จากที่ไหนมาให้แพทย์หรือเภสัชกรตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อป้องกันการรับประทานยาซ้ำซ้อน และเกินขนาดจนส่งผลเสียต่อร่างกาย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย

กลุ่มยาในผู้สูงอายุที่ต้องระวังและหลีกเลี่ยง

   ผู้สูงอายุควรระมัดระวังยาจำพวก ยานอนหลับ ยาคลายเครียด และยาแก้ปวด ซึ่งยาพวกนี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ง่วงซึม สับสน รวมไปถึงกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตขึ้นหรือไตวาย ดังนั้นจึงต้องระวังเป็นพิเศษในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต อย่างไรก็ตามควรทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพร ยาหม้อ และยาลูกกลอนมารับประทานเอง เนื่องจากส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดตามข้อต่างๆ ผู้ป่วยมักจะมีความเข้าใจผิดว่าสมุนไพรนั่นปลอดภัย แต่ส่วนมากมักผสมยาสเตียรอยด์ ทำให้หายปวดได้จริง แต่ส่งผลเสียระยะยาว เช่น กระดูกพรุน ต่อมหมวกไตฝ่อ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

เทคนิคการป้องกันการลืมกินยาในผู้สูงอายุ

   หากผู้สูงอายลืมกินยา จำเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าควรปฏิบัติยังไง เนื่องจากยาแต่ละชนิดมีวิธีการกินที่แตกต่างกัน บางชนิดรับประทานทันทีที่นึกได้ บางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป ดังนั้นเพื่อป้องกันการลืมกินยาของผู้สูงวัย ผู้ดูแลอาจแบ่งจัดเซ็ตยาใส่กล่องยา สำหรับมื้อ เช้า กลางวัน ก่อนนอน หรือก่อนหรือหลังอาหารไว้ แต่ไม่แนะนำให้เตรียมยาล่วงหน้าครั้งละมากๆ หากเป็นยาบรรจุแผง แนะนำให้ตัดแผงยาตามเม็ดและเอายาออกจากแผงเมื่อรับประทานเท่านั้นเนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เหตุใดคุณควรลงทุนในคุณภาพของสินค้าพรีเมี่ยม

  สินค้าพรีเมี่ยม คืออะไร ? ก่อนที่เราจะลงลึกถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยม สิ่งสำคัญคือต้องนิยามความหมายของคำนี้ก่อน ผลิตภัณฑ์ระด...